วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

สุภาษิต


สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ คนไทยเรามักหยิบยกคำสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างในการอบรมสั่งสอนลูกหลาน หรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า หรือบางครั้งใช้แสดงเปรียบเทียบประกอบการสนทนา สุภาษิตไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
2. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของความเหล่านั้น

ตัวอย่างสุภาษิต

ตัวอย่าง  เขาหลงรักเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ กระต่ายหมายจันทร์


        ในเมืองเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ไกลสุดโพ้นทะเลมีพระราชาพระองค์หนึ่งเป็นผู้ที่หวงแหนพระราชธิดามาก พระองค์มีธิดาเพียงองค์เดียว ดังนั้นจึงเอาอกเอาใจบำรุงบำเรอให้ความสุขความสำราญเต็มที่ และเจ้าหญิงองค์นี้ก็มีพระสิริโฉมงดงามที่สุด      อยู่มาวันหนึ่งเจ้าหญิงได้ออกมาเดินเล่นในอุทยานดอกไม้เดินไปก็ร้องเพลงไปน้ำเสียงของเจ้าหญิงช่างอ่อนหวานและกังวาลยิ่งนัก ในขณะที่เดินชมสวนอยู่ก็ได้พบกับองครักษ์หนุ่มของพระราชาเข้าโดยบังเอิญทั้งสองตกหลุมรักกันในทันที แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าองครักษ์หนุ่มผู้นี้ต่ำต้อยด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์เหลือเกินจึงได้แต่เก็บความรู้สึกไว้ในใจ เมื่อพระราชาทรงทราบข่าวก็กริ้วมาก จึงขับไล่องครักษ์ออกจากวัง เจ้าหญิงเสียพระทัยมาก   ต่อมาพระราชาจึงให้เจ้าหญิงอภิเษกกับเจ้าชายต่างเมืององครักษ์ผู้นี้จึงได้แอบติดตามข่าวของเจ้าหญิงอยู่เงียบๆ เขาคิดว่าตนเองนี้ต่ำต้อยเสียเหลือเกิน ถึงปรารถนาเจ้าหญิงมาครองคู่แต่ก็เพียงแค่มองไม่สาสามารถไขว่ขว้าไว้กับตนได้อุปมาดั่ง"กระต่ายหมายจันทร์"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น