วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปภาพส่วนตัว

https://plus.google.com/u/0/photos

วีดีโอเเนะนำตัว

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย เเตกต่างกันอย่างไร

สำนวน





.ความหมายของสำนวน
            สำนวนหมายถึง ถ้อยคำที่กระทัดรัด คมคายกินใจผู้ฟัง ไพเราะสละสลวยและมีความหมายลึกซึ้งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป สำนวนในที่นี้รวมถึง สุภาษิต ภาษิต และคำพังเพยด้วย

.คุณค่าของสำนวน
            .ใช้สื่อสารได้รวดเร็ว กะทัดรัดและประหยัดเวลา เมื่อใช้แล้วเข้าใจความหมายได้ทันที             ไม่ต้องอธิบายความให้ยืดยาว
            .ช่วยเน้นความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
            .โน้มน้าวใจให้ปฏิบัติหรือมีค่านิยมตามที่สังคมปรารถนา
            .สะท้อนให้เห็นค่านิยม สภาพของสังคมไทยในแง่มุมต่าง ๆ
            .มีประโยชน์ด้านการใช้ภาษา เช่น การผูกถ้อยคำ การเรียงประโยค

.การพิจารณาสำนวน
            .จำนวนคำ
                  สำนวนอาจมีจำนวนคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป บางสำนวนมีถึง ๑๒ คำ(คำในที่นี้หมายถึงพยางค์)
                        สำนวนที่มี ๒ คำ เช่น แผลเก่า  นกต่อ  ตัดเชือก  แกะดำ
                        สำนวนที่มี ๓ คำ เช่น นกสองหัว  งอมพระราม  เฒ่าหัวงู
                        สำนวนที่มี ๔ คำ เช่น  ตบหัวลูบหลัง  เคียงบ่าเคียงไหล่
            เข้าด้ายเข้าเข็ม  อ้อยเข้าปากช้าง 
                        สำนวนที่มี ๕ คำ เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก  หนูตกถังข้าวสาร 
ทำคุณบูชาโทษ  ได้ทีขี่แพะไล่
            สำนวนที่มี ๖ คำ เช่น หนีเสือปะจระเข้  กระดูกสันหลังของชาติ
อัฐยายซื้อขนมยาย  ปลากระดี่ได้น้ำ
สำนวนที่มี ๗ คำ เช่น งมเข็มในมหาสมุทร  ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า                                กินบนเรือนขี้บนหลังคา
สำนวนที่มี ๘ คำ เช่น ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้                                                                 เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม      มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
สำนวนที่มี ๙ คำ เช่น หมูเขาจะหามเอาคานเข้ามาสอด                                                     เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
สำนวนที่มี ๑๐ คำ เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ                                                    น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
สำนวนที่มี ๑๒ คำ เช่น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน
            .เสียงสัมผัส
                        สำนวนบางสำนวนมีเสียงสัมผัสกัน เช่น
                        คอขาดบาดตาย                      ทรัพย์ในดินสินในน้ำ
                        จองหองพองขน                       น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
                        ศึกเหนือเสือใต้                        หมอบราบคาบแก้ว
                        สำนวนบางสำนวนไม่มีเสียงสัมผัส เช่น
                        คมในฝัก                                  น้ำขึ้นให้รีบตัก
                        แพะรับบาป                             น้ำท่วมปาก
                        เกลือเป็นหนอน                       ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
            .สำนวนที่มีลักษณะเป็นกลุ่มคำหรือประโยค
                        สำนวนบางสำนวนมีลักษณะเป็นกลุ่มคำ เช่น
                        ขมิ้นกับปูน                              ร่มโพธิ์ร่มไทร
                        หมูในอวย                                กระดูกสันหลังของชาติ
                        สำนวนบางสำนวนมีลักษณะเป็นประโยค เช่น
                        กาคาบพริก                             น้ำลดตอผุด
                        ดินพอกหางหมู                        งูกินหาง

            .การใช้สำนวน
                        หลักการใช้สำนวน คือใช้ให้ตรงกับความหมาย  เช่น
-          -          หนุ่มสาวคู่นี้เหมาะสมกันราวกิ่งทองใบหยก
-          -          เธอนี่ทำตื่นตกอกตกใจเป็นกระต่ายตื่นตูมไปได้
-          -          รักกันชอบกันก็ต้องเข้าตามตรอกออกตามประตู
-          -          คุณตอบอย่างนั้นเขาเรียกว่าตอบอย่างกำปั้นทุบดิน
-          -          พ่อแม่หวังจะฝากผีฝากไข้กับลูก

.ตัวอย่างสำนวน
            .สำนวนเกี่ยวกับพืช
            กลมเป็นลูกมะนาว                  - หลบหลีกได้คล่อง
            ขิงก็ราข่าก็แรง                         - ต่างไม่ยอมลดละกัน
            ตาเป็นสับปะรด                       - มีพวกคอยสอดส่องเหตุการณ์ให้
            แตงเถาตาย                             - หญิงม่ายที่มีอายุมาก
            .สำนวนที่เกี่ยวกับสัตว์
            กระต่ายขาเดียว                      - ยืนกรานไม่ยอมรับ
            กินน้ำเห็นปลิง                         - รู้สึกตะขิดตะขวงใจ
            จมูกมด                                    - รู้ทันเหตุการณ์
            กิ้งก่าได้ทอง                            - คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว
            .สำนวนที่เกี่ยวกับการกระทำ
            แกว่งเท้าหาเสี้ยน                    - หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว
            ชายหาบหญิงคอน                   - ช่วยกันทำมาหากิน
            ขนทรายเข้าวัด                         - ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
            บุกป่าฝ่าดง                             - ต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ
            .สำนวนที่มาจากนิทานหรือวรรณคดี
            กระต่ายตื่นตูม                         - ตื่นตกใจโดยไม่สำรวจให้ถ่องแท้                               ดอกพิกุลร่วง                            - อาการนิ่งไม่พูด
            เห็นกงจักรเป็นดอกบัว             - เห็นผิดเป็นชอบ
            ทรพี                                         - คนอกตัญญู


ตัวอย่างสำนวน

.สำนวนเกี่ยวกับพืช
                                                                                   


                                              ขิงก็ราข่าก็แรง   หมายถึง ต่างไม่ยอมลดละกัน

 .สำนวนที่เกี่ยวกับสัตว์


                                                กิ้งก่าได้ทอง    หมายถึง   คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว

.สำนวนที่เกี่ยวกับการกระทำ

                                         ขนทรายเข้าวัด   หมายถึง  ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

  .สำนวนที่มาจากนิทานหรือวรรณคดี



                                          เห็นกงจักรเป็นดอกบัว     หมายถึง เห็นผิดเป็นชอบ

ตัวอย่างสำนวน

สำนวน
ความหมาย
ไกลปืนเที่ยง
ว.ไม่รู้อะไร  เพราะ อยู่ห่างไกลความเจริญ
ขวานผ่าซาก
ว.โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
ขายผ้าเอาหน้ารอด
ก.ยอมเสียสละแม้แต่ ของจำเป็นที่ตนที่อยู่  เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้ ทำให้เสร็จลุล่วงไป  เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้
ขิงก็รา  ข่าก็แรง
ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน  ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน ต่างไม่ยอมลดละกัน
เข้าเมืองตาหลิ่ว
ต้องหลิ่วตาตาม
ก.ประพฤติตนตามที่ คนส่วนใหญ่ ประพฤติกัน
แขวนนวม
ก.เลิกชกมวย โดยปริยายหมายถึง
เลิก
 หยุด
คดในข้องอในกระดูก
ว.มีสันดานคดโกง
คนรักเท่าผืนหนัง
คนชังเท่าผืนเสื่อ
น.คนรักมีน้อย  คนชังมีมาก
คลุกคลีตีโมง
ก.มั่วสุม หรืออยู่ร่วม คลุกคลีพัวพันกัน
อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
คว่ำบาตร
ก.ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย เดิมหมายถึง สังฆกรรมที่พระสงฆ์ ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนา ด้วยการไม่คบ  ไม่รับบิณฑบาตเป็นต้น

วีดีโอตัวอย่างการใช้สำนวน ชักเเม่น้ำทั้งห้า

วีดีโอตัวอย่างการใช้สำนวน คาหนังคาเขา

สุภาษิต


สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ คนไทยเรามักหยิบยกคำสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างในการอบรมสั่งสอนลูกหลาน หรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า หรือบางครั้งใช้แสดงเปรียบเทียบประกอบการสนทนา สุภาษิตไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
2. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของความเหล่านั้น

ตัวอย่างสุภาษิต

ตัวอย่าง  เขาหลงรักเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ กระต่ายหมายจันทร์


        ในเมืองเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ไกลสุดโพ้นทะเลมีพระราชาพระองค์หนึ่งเป็นผู้ที่หวงแหนพระราชธิดามาก พระองค์มีธิดาเพียงองค์เดียว ดังนั้นจึงเอาอกเอาใจบำรุงบำเรอให้ความสุขความสำราญเต็มที่ และเจ้าหญิงองค์นี้ก็มีพระสิริโฉมงดงามที่สุด      อยู่มาวันหนึ่งเจ้าหญิงได้ออกมาเดินเล่นในอุทยานดอกไม้เดินไปก็ร้องเพลงไปน้ำเสียงของเจ้าหญิงช่างอ่อนหวานและกังวาลยิ่งนัก ในขณะที่เดินชมสวนอยู่ก็ได้พบกับองครักษ์หนุ่มของพระราชาเข้าโดยบังเอิญทั้งสองตกหลุมรักกันในทันที แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าองครักษ์หนุ่มผู้นี้ต่ำต้อยด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์เหลือเกินจึงได้แต่เก็บความรู้สึกไว้ในใจ เมื่อพระราชาทรงทราบข่าวก็กริ้วมาก จึงขับไล่องครักษ์ออกจากวัง เจ้าหญิงเสียพระทัยมาก   ต่อมาพระราชาจึงให้เจ้าหญิงอภิเษกกับเจ้าชายต่างเมืององครักษ์ผู้นี้จึงได้แอบติดตามข่าวของเจ้าหญิงอยู่เงียบๆ เขาคิดว่าตนเองนี้ต่ำต้อยเสียเหลือเกิน ถึงปรารถนาเจ้าหญิงมาครองคู่แต่ก็เพียงแค่มองไม่สาสามารถไขว่ขว้าไว้กับตนได้อุปมาดั่ง"กระต่ายหมายจันทร์"

วีดีโอตัวอย่างสุภาษิต

คำพังเพย





คำพังเพย   หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงความจริง ไม่ได้สอนโดยตรง อาจจะเป็นคำพังเพยแท้ก็ได้               เป็นสำนวนก็ได้ เป็นคำขวัญก็ได้ คำพังเพยแท้เช่น มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่,                   ยากเงิน จนทอง พี่น้องไม่มี, มีเงินทอง พูดจาได้ มีไม้ไร่ ปลูกเรือนงาม,                                                   รู้แล้วพูดไปสองไพเบี้ย รู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง



ตัวอย่าง

ขว้างงูไม่พ้นคอ      หมายถึง    สิ่งไม่ดีที่เราพยายามกำจัดมักจะวกกลับมาอีก



ปากปราศรัยใส น้ำใจเชือดคอ        หมายถึง     พูดดีแต่ปาก แต่ใจคิดร้าย




รู้อย่างเป็ด        หมายถึง    ไม่ควรรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่รู้จริงสักอย่าง


ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง หมายถึงข้างนอกอาจจะดูดี มีค่า แต่ข้างในหรือตามความเป็นจริงแล้ว มิได้ดีตามที่เห็น


น้ำกลิ้งบนใบบอน        หมายถึง      ใจโลเล ใจไม่แน่นอน เปลี่ยนไปอยู่เรื่อย ๆ


น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ   หมายถึง  อย่าขัดขวางหรือขัดแย้งกับผู้มีอำนาจ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด


ปลาใหญ่กินปลาเล็ก   หมายถึง      ผู้มีอำนาจมากกว่ากดขี่ข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่า


วีดีโอตัวอย่างคำพังเพย